วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ธงประกาศิตแห่งเทพ

《 神令旗 》
รูปที่ 1 เทพธวัช หรือ ธงประกาศิตแห่งเทพ  神令旗 
ประเภทเจาจวินฉี《 招军旗 》ธงเรียกทัพ หรือ ธงนำทัพ )
สีเหลือง《 令旗 》( หวงลิ่งฉี)







เทพธวัช 《 神令旗 》หรือธงประกาศิตแห่งเทพ ( ภาษาจีนกลางออกเสียงว่าเสินลิ่งฉี ,ภาษาฮกเกี้ยนออกเสียงว่า สินเหล่งกี ) เป็นอุปกรณ์ในการทำพิธีกรรมทางศาสนาของนักพรตในศาสนาเต๋า ซึ่งเลียนแบบมาจากการการใช้ธงคำสั่งตลอดจนถึงการใช้ธงสัญญาณรบในการทำสงคราม ซึ่งเรื่องนี้จะพบในวิชาพิชัยสงครามว่าด้วยเรื่องกระบวนรบและค่ายกล
รูปที่ 2 ภาพผังกระบวนรบ มังกรเหิร ของ ขงเบ้ง 《 诸葛亮 》







เทพธวัชนั้นเป็นตัวแทนของการบัญชากองทัพสวรรค์ ซึ่งความเชื่อเรื่องกองทัพสวรรค์ซึ่งเป็นความเชื่อของศาสนาเต๋านิกายเจิ้งอี 《 正一宗 》( อ่านเรื่อง เตียวเทียนซือ ประกอบ ) ดังจะปรากฏอยู่ในคัมภีร์  太上三五正一盟威 ผูกที่ 5 บรรพที่ 1  12 ซึ่งแต่งขึ้นในสมัยราชวงศ์จิ้น《 晋朝 》 (พ.ศ. 808  963 )
ตามความเชื่อนั้น กองทัพสวรรค์แบ่งออกเป็นกองทัพวงนอกและวงใน《 内 - 外五营 》 โดยที่ทัพวงนอกและวงในยังแบ่งย่อยออกเป็นอีกอย่างละ 5 กองทัพ ทัพสวรรค์วงนอกนั้นจะมีการนำทัพโดยเทพองค์ต่างๆ ซึ่งเทพดังกล่าวนี้จะเป็นเทพที่ได้การสถาปนาจากราชสำนักจีนในอดีต อาทิเช่นกวานเซิ่งตี้จวิน ( กวนอู )《 关圣帝君 》, ม้าจู่《 妈祖 》, เป่าเซิงต้าตี้《 保生大帝 》, หวางเหย่《 王爷 》องค์ต่างๆ ฯลฯ โดยไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเทพองค์ใดเป็นพิเศษส่วนกองทัพสวรรค์วงในนั้นแบ่งออกเป็น 5 ทัพ ดังนี้




1. ทิศตะวันออก มีนามว่าทัพ จิ่วอี๋ 《 九 》คุมกำลังทหาร 90 ล้าน 9 หมื่นนาย ( เรื่องของกำลังทหารนั้น ภาษาจีนใช้คำว่า 《 九千九万 》ซึ่งแปลว่า 90 ล้าน 9 หมื่น ไม่ใช่《 九万九千 》ที่แปลว่า 9 หมื่น 9 พัน แม้ในกองทัพอื่นๆก็มีนัยยะเช่นเดียวกัน ) นำทัพโดย อี๋เหล่าจวิน 夷老君 》เป็นทัพซ้าย โดยมีธงสีเขียว ( ธาตุไม้ ) เป็นสัญลักษณ์ในการบัญชาการทัพ
2. ทิศใต้ มีนามว่าทัพ ปาหมาน   》( สมัยก่อนเรียกว่า ปาเยว่  八越 》) คุมกำลังทหาร 80 ล้าน 8 หมื่นนาย นำทัพโดย เยว่เหล่าจวิน  越老君 》เป็นทัพหน้าโดยมีธงสีแดง ( ธาตุไฟ ) เป็นสัญลักษณ์ในการบัญชาการทัพ
3. ทิศตะวันตก มีนามว่าทัพ ลิ่วหรง  六戎 》( สมัยก่อนเรียกว่า ลิ่วตี  六氐 》) คุมกำลังทหาร 60 ล้าน 6 หมื่นนาย นำทัพโดย ตีเหล่าจวิน  氐老君 》เป็นทัพขวา โดยมีธงสีขาว ( ธาตุทอง ) เป็นสัญลักษณ์ในการบัญชาการทัพ




4. ทิศเหนือ มีนามว่าทัพ อู่ตี๋  五狄 》( สมัยก่อนเรียกว่า อู่เชียง  五羌) คุมกำลังทหาร 50 ล้าน 5 หมื่นนาย นำทัพโดย เชียงเหล่าจวิน  羌老君 》เป็นทัพหลังโดยมีธงสีดำ ( ธาตุน้ำ ) เป็นสัญลักษณ์ในการบัญชาการทัพ
และ 5. ตำแหน่งศูนย์กลาง (ไม่สังกัดทิศ ) มีนามว่าทัพ ซันไท่  三泰 》คุมกำลังทหาร 30 ล้าน 3 หมื่นนาย นำทัพโดย ไท่เหล่าจวิน  泰老君 》เป็นทัพกลาง โดยมีธงสีเหลือง ( ธาตุดิน ) เป็นสัญลักษณ์ในการบัญชาการทัพ




ซึ่งชื่อของกองทัพสวรรค์ทั้ง 3 ในสมัยโบราณ อันได้แก่ เยว่《 越 》ตี  》และ เชียง  》นั้นแท้ที่จริงแล้วคือชนเผ่าในสมัยโบราณซึ่งตั้งอยู่ตามทิศต่างๆของประเทศจีนตามทิศของกองทัพสวรรค์นั่นเอง จนต่อมาเมื่อถึงสมัยตอนปลายของราชวงศ์หมิง ( ประมาณ พ.ศ. 2100 ) แม่ทัพสวรรค์ทั้ง 5 ก็ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจนกระทั่งถึงปัจจุบันความเชื่อเรื่องแม่ทัพสวรรค์ทั้ง 5 มีต่างๆกันถึง 7 สาย (โดยเรียงลำดับดังนี้คือ กองทัพตะวันออก, ใต้, ตะวันตก, เหนือ และตำแหน่งศูนย์กลาง ) ดังต่อไปนี้
1. แม่ทัพแซ่ จาง  》, เซียว  》, หลิว  》, เหลียน , หลี่   》
2. แม่ทัพแซ่ หลิน  , อฺวี๋  , หม่า《  ผาง  ,สือ《 石 
3. แม่ทัพแซ่ จ้าว  , ตู้ 杜 》, หลี่  , โจว《 周 , หลิว   
4. แม่ทัพแซ่ เวิน《  , คัง《 康 , หม่า《  , จ้าว  , หลี่   》
5. แม่ทัพแซ่ คัง《 康 , จาง《  》, จ้าว《  》, หม่า《  》, หลี่   》
6. แม่ทัพแซ่ ซิน  , ฉือ 池 》, เจี่ยง  , หง《 洪 》, หลี่   》
7. แม่ทัพชื่อ หลอคุน《 昆 》, เหวินเหลียง《 文良 》, หลอชั่น 羅燦, เจาเสียน《 招 , หนาจา 《 哪吒 》




โดยรายนามแม่ทัพข้างต้นทั้ง 7 สายนั้น สายที่ 1 ถือเป็นที่แพร่หลายมากที่สุด และโดยทั่วไปถือกันว่าเทพ หลี่หนาจา”  哪吒 》ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด《 首席元 โดยมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่ถือเช่นนี้
ตามความเชื่อของศาสนาเต๋า เทพธวัช《 神令旗 》นั้นเป็นสัญลักษณ์ของการบัญชากองทัพสวรรค์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือธงที่มีผืนธงเป็นรูป 3 เหลี่ยมและ 4 เหลี่ยม โดยที่ธงที่มีผืนธงเป็นรูป 3 เหลี่ยมมีทั้งหมด 5 สี เรียกว่า อู่อิ๋งฉี 《 五营 》 ( แปลว่า ธง 5 ทัพ ) ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อเรื่องธาตุทั้ง 5 อันได้แก่ ธงสีเขียวเป็นสัญลักษณ์แทนทิศตะวันออกธาตุไม้, ธงสีแดงเป็นสัญลักษณ์แทนทิศใต้ธาตุไฟ, ธงสีขาวเป็นสัญลักษณ์แทนทิศตะวันตกธาตุทอง ธงสีดำเป็นสัญลักษณ์แทนทิศเหนือธาตุน้ำ, ธงสีขาวเป็นสัญลักษณ์แทนทิศตะวันตกธาตุทอง และธงสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์แทนตำแหน่งศูนย์กลาง ( ไม่สังกัดทิศ )ธาตุดิน ส่วนธงที่มีผืนธงเป็นรูป 4 เหลี่ยมนั้นมี 2 สีเรียกว่า เจาจวินฉี 《 招军旗 》( แปลว่า ธงเรียกทัพ หรือ ธงนำทัพ ) มี 2 สีคือ สีดำ《 令旗 》( ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า เฮยลิ่งฉี , ฮกเกี้ยนออกเสียงว่า ออเหล่งกี ) และสีเหลือง《 令旗 》( ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า หวงลิ่งฉี , ฮกเกี้ยนออกเสียงว่า อึ่งเหล่งกี )
รูปที่ 3 เทพธวัช《 神令旗 》
ประเภทเจาจวินฉี《 招军旗 》ธงเรียกทัพ หรือ ธงนำทัพ )
สีดำ《 令旗 》( เฮยลิ่งฉี)







ในส่วนของพิธีกรรมนั้น ตามความเชื่อของศาสนาเต๋าจะมีพิธีกรรมชื่อ เวทย์บัญชา 5 ทัพ《 调五营大法 》 วิชานี้เป็นวิชาของนักพรตในศาสนาเต๋า โดยมีจุดประสงค์เพื่อการเรียกกองทัพสวรรค์มาอารักขาขณะที่ตนกำลังทำพิธีหรือฝึกวิชา ทั้งยังใช้เป็นเวทย์เรียกกองทัพสวรรค์มาเพื่อปราบปีศาจ ตลอดจนใช้เพื่อการต่อสู้ด้วยเวทย์มนต์ระหว่างผู้มีวิชาอาคม《 斗法 》 โดยในส่วนของพิธีกรรมนั้น มีอุปกรณ์และระเบียบปฏิบัติโดยคร่าวๆดังต่อไปนี้
รูปที่ 4 อู่อิ๋งโถว《 五营头 》( เศียร 5 ทัพ )







รูปที่ 5 อู่อิ๋งโถว《 五营头 》( เศียร 5 ทัพ )
( ทรัพย์สินของ ศาลเจ้ากะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต )
( ขอขอบคุณเวปไซต์ www.phuketvegetarian.com เอื้อเฟื้อภาพ )







1. อู่อิ๋งโถว《 五营头 》( เศียร 5 ทัพ ) อู่อิ๋งโถวมีลักษณะเป็นแท่งเหล็กเส้นเล็กๆขณะที่ส่วนยอดเป็นเป็นไม้แกะสลักเป็นรูปของเศียรแม่ทัพสวรรค์ทั้ง 5 ในแง่วัฒนธรรมอู่อิ๋งโถวคือ ส่วนแกนหลักของหุ่นกระบอก แต่ในแง่ของความเชื่อทางศาสนานั้นอู่อิ๋งโถวคือรูปเคารพหรือจินเซิน《 金身 ประเภทหนึ่ง ซึ่งจินเซินประเภทนี้จะใช้กับแม่ทัพสวรรค์ทั้ง 5 และจะใช้กับวิชา เวทย์บัญชา 5 ทัพเท่านั้น ( จินเซินหรือกิมซิ้นนั้นมีหลายลักษณะ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นประติมากรรมที่มีเป็นคนโดยสมบูรณ์เท่านั้นแม้ภาพวาดเองก็จัดเป็นจินเซินประเภทหนึ่ง อ่านเรื่อง ความรู้เรื่องกิมซิ้น ประกอบ ) เนื่องจากการขาดความรู้และความคึกคะนอง ในปัจจุบันจึงมีการนำอู่อิ๋งโถวมาเป็นอุปกรณ์ในการทรมานร่างกายของม้าทรง ซึ่งถือเป็นการใช้งานที่ผิดวัตถุประสงค์อย่างมาก
รูปที่ 6 ป้ายประกาศิต หรือ ต้าลิ่ง  大令 》






  
2. ต้าลิ่ง  大令 》( ป้ายประกาศิต ) ต้าลิ่งเป็นสัญลักษณ์แทนอำนาจควมคุมทหารสวรรค์ทั้งหมดของผู้บัญชาการทหารสูงสุด ( ต้าลิ่งนี้เลียนแบบมาจากป้ายประกาศิตที่ใช้ในราชการทหารของจีนในสมัยโบราณ ) วัสดุที่ทำมาสร้างนั้นอาจทำจากไม้แกะสลัก หรือผ้าปักลวดลาย โดยมีลักษณะเป็นรูป 4 เหลี่ยมผืนผ้า ยอดตัดเป็นรูป 3 เหลี่ยม ปลายสอบให้แคบลง
3. อู่อิ๋งฉี  五营 ( ธง 5 ทัพ ) อู่อิ๋งฉีเป็นที่ผืนธงเป็นรูป 3 เหลี่ยม มีทั้งหมด 5 สีๆละ 1 อัน ตามจำนวนของกองทัพสวรรค์ทั้ง 5 โดยมีขนาดยาว ( รวมด้ามธง ) ประมาณ 1 ฟุต ( หรืออาจยาวมากกว่านั้นเล็กน้อย )
รูปที่ 7 อู่อิ๋งจฺว้อ  五营座 ( บัลลังก์ 5 ทัพ )
( ทรัพย์สินของ พิพิธพันธ์มรดกวัฒนธรรมแห่งชาติไต้หวัน )







โดยสิ่งของทั้ง 3 อย่างข้างต้นจะนำมารวมไว้บนแท่นที่ลักษณะคล้ายโต๊ะหรือกระเช้าซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มาก โดยจะเรียกโดยรวมว่า อู่อิ๋งจฺว้อ  五营座 ( บัลลังก์ 5 ทัพ ) โดยในส่วนของอู่อิ๋งโถวนั้นจะมีการนำผ้าที่มีสีตามสีธงประจำทัพมาคลุมส่วนที่เป็นแท่งเหล็กไว้ ( บางครั้งก็ไม่ได้คลุม ) ต่อมาภายหลังพบว่าในที่บางแห่งมีการทำอู่อิ๋งจฺว้อให้ใหญ่ขึ้น เพื่อประดิษฐานต้าลิ่งเพิ่มอีก 4 อัน ( รวมเป็น 5 อัน ) ตามจำนวนของแม่ทัพสวรรค์ทั้ง 5 ขณะที่บางแห่งจะมีจินเซินแม่ทัพสวรรค์ที่มีลักษณะเป็นประติมากรรมที่มีเป็นคนโดยสมบูรณ์เพิ่มเข้าไป ซึ่งมีทั้งเพิ่ม 1 องค์อันแทนด้วยแม่ทัพผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเพิ่ม 5 องค์คือแม่ทัพสวรรค์ทั้ง 5 แต่นั่นก็เป็นการซ้ำซ้อนเพราะอู่อิ๋งโถวมีฐานะเป็นจินเซินโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว
รูปที่ 8 ศาล 5 ทัพ 五营 》ศูนย์กลาง







ในด้านของการสร้างศาลนั้น ศาล 5 ทัพ 五营 》นั้น ( บางครั้งเรียกว่าอู่อิ๋งเตี้ยน  五营殿 》ซึ่งแปลว่า ตำหนัก 5 ทัพ ) จะมีการสร้างศาลศูนย์กลาง โดยสร้างเป็นศาลเล็กๆแยกออกไปต่างหาก ซึ่งโดยมากมักอยู่บริเวณภายในศาลเจ้า ( มีลักษณะคล้ายศาลเจ้าที่《 福德词หรือศาลหู่เย๋《 虎爷词 》) โดยประดิษฐานอู่อิ๋งจฺว้อ 五营座 ( บัลลังก์ 5 ทัพ ) ไว้ภายในศาล และสร้างศาลเล็กๆอีก 5 ศาล โดยตั้งกระจายทิศต่างๆตามความเชื่อเรื่องกองทัพสวรรค์ และศาลทั้ง 5 นั้นมักจะตั้งอยู่ในที่กลางแจ้งตามบริเวณปากทางหรือทางแยก ซึ่งศาลทัพสวรรค์ทั้ง 5 ที่ตั้งกระจายกันดังกล่าวนั้นมีวิธีการสร้างโดยจำแนกออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
1. ประเภทธรรมชาติ โดยแบ่งเป็น
1.1 แบบธรรมดา คือ จะตั้งอุปกรณ์ในการประกอบพิธีโดยไม่มีการสร้างศาลและตกแต่งใดๆ
รูปที่ 9 ศาลทัพสวรรค์ 五营 ประเภทธรรมชาติ แบบมีอาณาเขต







1.2 แบบมีอาณาเขต คือ มีการสร้างจุดกำหนดอาณาเขตของสถานที่ๆจะประกอบพิธีแบบง่ายๆ โดยใช้วัสดุต่างๆอาทิเช่น ดินเหนียว, ก้อนหิน และกิ่งไม้ เป็นต้น
1.3 แบบการก่อเป็นเนินดิน คือ ก่อดินให้เนินสูงขึ้นไป และทำที่กั้นน้ำเพื่อกันน้ำกัดเซาะ
2. ประเภททำเป็นโต๊ะบูชาเทพ ซึ่งจะมีขนาดไม่สูงมาก
รูปที่ 10 ศาล 5 ทัพ 五营 ประเภทโรงเรือน






3. ประเภทโรงเรือน คือ สร้างเป็นศาลเหมือนกับศาล 5 ทัพ 五营 》ศูนย์กลาง
4 ประเภทเจดีย์ คือ ใช้ก้อนอิฐหรือก้อนหิน ก่อให้สูงขึ้นมีลักษณะคล้ายเจดีย์ โดยจะก่อสูงสุดไม่เกิน 9 ชั้น ซึ่งศาลประเภทนี้โดยมากจะตั้งรูปแกะสลักของเสือหรือสิงโต ที่ทำจากไม้หรือหินไว้ด้านหน้า
รูปที่ 11 หลักไม้ไผ่ที่ศักดิ์เป็นจินเซินหรือกิมซิ้น อันเป็นตัวแทนของแม่ทัพสวรรค์





ขณะที่ภายในศาล 5 ทัพ 五营 》ศูนย์กลางจะประดิษฐานอู่อิ๋งจฺว้อ 五营座 ( บัลลังก์ 5 ทัพ ) แต่ศาลทัพสวรรค์ทั้ง 5 ที่ตั้งกระจายภายนอกนั้นจะประดิษฐานหลักไม้ไผ่ ( มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ประดิษฐานอู่อิ๋งจฺว้อ ) โดยจะมีทั้งหมด 6 หลัก แต่ละหลักยาวประมาณ 2 ฟุต โดยไม้ไผ่แต่ละหลักมีศักดิ์เป็นจินเซินหรือกิมซิ้น แทนองค์แม่ทัพสวรรค์ทั้ง 5 และผู้บัญชาการทหารสวรรค์สูงสุดรวมเป็น 6 แต่ละหลักจะลงยันต์ประจำตัวของแม่ทัพแต่ละองค์ และส่วนยอดของไม้ไผ่จะหุ้มด้วยกระดาษเงินกระดาษทอง ( บางแห่งหุ้มด้วยผ้าหรือกระดาษสีแดง ) ซึ่งถ้าเปรียบเทียบแล้วหลักไม้ไผ่ทั้ง 6 นั้นก็คือวัตถุ 6 อย่างอันได้แก่ อู่อิ๋งโถวทั้ง 5 และต้าลิ่งอีก 1 ในอู่อิ๋งจวฺว้อนั่นเอง
รูปที่ 12 ภาพการทำพิธีเชิญกองทัพสวรรค์





รูปที่ 13 ของเซ่นไหว้หลักที่ใช้ให้รางวัลกองทัพสวรรค์ 赏兵 》
( ขอขอบคุณเวปไซต์ www.phuketvegetarian.com เอื้อเฟื้อภาพ )




ในแง่ของพิธีการโดยคร่าวๆนั้นก็จะเริ่มตั้งแต่ อัญเชิญแม่ทัพและกองทัพสวรรค์ โดยจะมีการเสี่ยงทายด้วยว่าการเชิญกองทัพสวรรค์มาสำเร็จหรือไม่ และเมื่อเสร็จพิธีก็จะมีการให้รางวัลทหารสวรรค์ 赏兵 》จนถึงการเรียกกองทัพสวรรค์กลับ โดยการให้รางวัลกองทัพสวรรค์นั้นจะใช้ม้า ( ที่ทำจากกระดาษ ) ,หญ้า, น้ำ และของเซ่นไหว้อื่นๆ ซึ่งช่วงเวลาที่จะให้รางวัลนั้นมีแตกต่างกันไปตามแต่ละสำนักซึ่งประมวลแล้วแบ่งได้ 3 กรณีคือ ในวันขึ้น 1 และ 15 ค่ำจันทรคติจีน ( ทั้ง 2 วันหรือวันใดวันหนึ่ง ), ในวันขึ้น 2 และ 16 ค่ำจันทรคติจีน ( ทั้ง 2 วันหรือวันใดวันหนึ่ง ) และ วันเกิดของเทพเจ้าในแต่ละเดือน ( หาดูได้ในปฏิทินจีน ) ในการเชิญกองทัพสวรรค์มาอารักขานั้นอาจกินเวลาหลายวันจนถึงหลายเดือน ไม่มีการกำหนดตายตัวว่าจะเชิญทัพสวรรค์มาในช่วงเวลาใดบ้าง แต่โดยทั่วไปจะไม่เชิญมาในช่วงตรุษจีน และในเดือน 7 ของปฏิทินจันทรคติจีน เพราะเชื่อกันว่าช่วงตรุษจีนเป็นช่วงเวลาพักผ่อนของทวยเทพ และในเดือน 7 นั้นเป็นช่วงที่ยมโลกปล่อยบรรดาภูตผีให้กลับมาหาญาติพี่น้องของตนที่โลกมนุษย์ จึงไม่มีการเชิญเทพมาเพราะจะทำให้สับสนวุ่นวายได้
วิชาเวทย์บัญชา 5 ทัพ《 调五营大法 》จัดเป็น 1 ในหลายวิชาของวิชาประเภทค่ายกล《 阵法 》ของศาสนาเต๋า และยังถือเป็นวิชาค่ายกลอันดับต้นๆที่มีคนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย ในส่วนของคาถาที่ใช้กันนั้นโดยมากจะเหมือนกัน แต่อาจจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามการถ่ายทอดของแต่ละท้องถิ่นและแต่สำนัก
รูปที่ 14 ไม้วัด เหวินกง 《 文公尺 》


อนึ่งในการสร้างเทพธวัช《 神令旗 》ทั้ง 2 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นนั้น โดยระเบียบวิธีปฏิบัติในส่วนของด้ามธงจะใช้ไม้จากตันท้อหรือต้นหลิว ( ซึ่งไม้ทั้ง 2 ชนิดนี้ศาสนาเต่าเชื่อว่าเป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ ) ในเรื่องของขนาดของด้ามและผืนธงนั้น จะใช้ขนาดมงคลที่ได้จากการวัดจากไม้วัดเหวินกง 文公尺 》( ซึ่งในปัจจุบันมีการผลิตเป็นตลับเมตรออกจำหน่ายแล้ว ) โดยที่อู่อิ๋งฉี《 五营 》( ธง 5 ทัพ ) จะมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่สำหรับเจาจวินฉี《 招军旗 》(ธงเรียกทัพ หรือ ธงนำทัพ ) นั้นจะมีขนาดต่างๆกันไป ซึ่งในกรณีที่มีขนาดใหญ่ อาจจะมีขนาดเมื่อรวมด้ามธงยาวได้ถึง 2 เมตร โดยที่เจาจวินฉีนั้นเมื่อทำพิธีจะปักไว้ในที่กลางแจ้ง ( ซึ่งบางครั้งอาจปักไว้บนยอดไม้ ) และในภาวะปกติจะเก็บรักษาไว้ที่ศาล 5 ทัพ 五营 》ศูนย์กลาง ซึ่งในการสร้างธงทั้ง 2 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นอาจปักเป็นลวดลายต่างๆเพื่อความสวยงาม หรือบางที่จะมีการเขียนยันต์กำกับ หรือแม้แต่มีแบบที่มีเพียงตัวอักษร ลิ่ง   ที่แปลว่า ประกาศิต เพียงตัวเดียว จนกระทั่งถึงไม่มีลวดลายหรือตัวอักษรใดๆเลย โดยเฉพาะเจาจวินฉีที่มีขนาดใหญ่อาจจะลงยันต์ประเภท มหายันต์ หรือ ต้าฝู 《 大符 》( ต้าฝูเป็นยันต์ที่มีลายละเอียดมากโดยจะเขียนวัสดุที่มีพื้นผิวขนาดใหญ่, มีความสำคัญสูง และวัตถุที่ค่อนข้างคงทนแข็งแรง ) แต่บางครั้งก็พบว่าเป็นการลงยันต์ขนาดเล็กหลายๆยันต์มารวมกันในธงผืนเดียว
รูปที่ 15 ภาพเจาจวินฉี《 招军旗 》เมื่อปักอยู่บนยอดไม้ขณะทำพิธี




ปัจจุบันมีการสร้างเจาจวินฉีด้วยสีต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีมาภายหลัง ในขณะที่แต่เดิมนั้นจะมีเพียง 2 สีเท่านั้น คือสีเหลืองและสีดำ และภาพที่ม้าทรงมีเทพธวัช《 神令旗 》ประจำกาย ก็ถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของศาสนาเต๋า สำนักอูไพ่《 巫派 》 สายถงจี《 童乩 》( อ่านเรื่องประเพณีกินเจ  ที่มา  และความเชื่อ ประกอบ ) ซึ่งเทพธวัช《 神令旗 》นั้น ยังถือเป็นสัญลักษณ์แห่อำนาจอีกด้วย……….


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น