วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พระราชวังต้องห้าม

พระราชวังต้องห้าม (จีน: 紫禁城; พินอิน: Zǐjìn Chéng จื่อจิ้นเฉิงอังกฤษ: Forbidden City) จากชื่อภาษาจีน แปลตามตัวอักษรได้ว่า "เมืองต้องห้ามสีม่วง" พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ใจกลางของกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีน (39°54′56″N116°23′27″E) เป็นพระราชวังหลวงมาตั้งแต่สมัยกลางราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิง พระราชวังต้องห้ามยังรู้จักกันในนาม พิพิธภัณฑ์พระราชวัง (ภาษาจีน: 故宫博物院; พินอิน: Gùgōng Bówùyùan) ครอบคลุมพื้นที่ 720,000 ตารางเมตร อาคาร 800 หลัง มีห้องทั้งหมด 9,999 ห้อง[1] และมีพระที่นั่ง 75 องค์ หอพระสมุด ห้องหับต่างๆอีกมาก รวมทั้งยังมีสวน ลานกว้าง ทางเดินเชื่อมกันโดยตลอด มีคูและกำแพงที่สูงถึง 11 เมตร[2] ล้อมรอบ ใช้ระยะก่อสร้างประมาณ 14 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1949 จนถึง พ.ศ. 1963
พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจตุรัสเทียนอันเหมิน นักท่องเที่ยวสามารถเข้าสู่พระราชวังต้องห้ามได้ทางจตุรัสนี้ ผ่านประตูเทียนอันเหมิน บริเวณรอบจตุรัสเทียนอันเหมิน เรียกว่า อาณาเขตหลวง โดยมีสิ่งก่อสร้างสำคัญอยู่โดยรอบ เช่น มหาศาลาประชาคม ในอดีต พระราชวังแห่งนี้ เป็นเขตหวงห้ามไม่ไห้ประชาชนเข้า แม้ข้าราชการชั้นสูง ยังต้องขออนุญาต เป็นกรณีพิเศษ จึงเรียกพระราชวังนี้ว่า "พระราชวังต้องห้าม" จักรพรรดิจะทรงประทับอยู่ในพระราชวังแห่งนี้ กั้นพระองค์จากโลกภายนอก โดยมีสนมกำนัล ขันที และข้าหลวงรับใช้ ซึ่งคนเหล่านี้ต้องอาศัยอยู่ในนครต้องห้ามตลอดชีวิต เพื่อความสำราญของจักรพรรดิ ในวังจะมีวิเสท 6,000 คน ประกอบพระกระยาหาร มีสนมกำนัล 9,000 นาง ซึ่งมีขันที 70,000 คน คอยดูแลให้ มีคำเล่าลือกันว่า พระนางซูสีไทเฮา เวลาเสวยก็จะมีพระกระยาหารถึง 148 ชุด และทรงส่งขันทีไปเสาะหาชายหนุ่มซึ่งเข้าวังแล้วจะไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย
แม้ว่าประเทศจีนจะไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว พระราชวังต้องห้ามก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีน และภาพประตูเทียนอันเหมินก็ยังปรากฏอยู่ในตราประจำสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย นอกจากนี้ พระราชวังต้องห้ามยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งไม่นานมานี้ ทางรัฐบาลจีนได้มีนโยบายจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวเพื่อจะอนุรักษ์สภาพของอาคารและสวนหย่อมไว้

File:Forbidden city 07.jpg

แควนกังตั๋งเปนปูมธาตุทอง

http://www.oocities.org/tbenmcpii/samkok05.pdf

ประการใด เสียงจูกัดกิ๋นรองดังมาจากดานหลังวานั่นมิใชขงเบงดอก ...... ประจําตัวซุนกวนซึ่งครองอํานาจเปนใหญในแควนกังตั๋งเปนปูมธาตุทอง ...

ตำราความรู้ ดวงจีน โหราศาสตร์จีน

http://www.chinese-horo.com/

  • ข้อคิดในการดำเนินชีวิตแบบจีน (24)
  • ความรู้เรื่องจีนจาก Facebook (20)
  • คำถามยอดฮิต (6)
  • ซินแสขอแนะนำ (3)
  • ตำราความรู้ ดวงจีน โหราศาสตร์จีน (29)
  • ตำราความรู้ ฮวงจุ้ย (11)
  • นิทานดีชี้ธรรม (1)
  • ประสบการณ์ ดูดวงจีน ซินแสหลัว (10)
  • ยอดธงชัยแห่งชีวิต (3)
  • ลายมือพู่กันจีน ซินแสหลัว (15)
  • เกี่ยวกับ ดูดวงจีน ซินแสหลัว-ลั๋ว (3)
  • เทพเจ้าจีน (1)
  • - See more at: http://www.chinese-horo.com/#sthash.8wNYgM20.dpuf

    ธงประกาศิตแห่งเทพ

    《 神令旗 》
    รูปที่ 1 เทพธวัช หรือ ธงประกาศิตแห่งเทพ  神令旗 
    ประเภทเจาจวินฉี《 招军旗 》ธงเรียกทัพ หรือ ธงนำทัพ )
    สีเหลือง《 令旗 》( หวงลิ่งฉี)







    เทพธวัช 《 神令旗 》หรือธงประกาศิตแห่งเทพ ( ภาษาจีนกลางออกเสียงว่าเสินลิ่งฉี ,ภาษาฮกเกี้ยนออกเสียงว่า สินเหล่งกี ) เป็นอุปกรณ์ในการทำพิธีกรรมทางศาสนาของนักพรตในศาสนาเต๋า ซึ่งเลียนแบบมาจากการการใช้ธงคำสั่งตลอดจนถึงการใช้ธงสัญญาณรบในการทำสงคราม ซึ่งเรื่องนี้จะพบในวิชาพิชัยสงครามว่าด้วยเรื่องกระบวนรบและค่ายกล
    รูปที่ 2 ภาพผังกระบวนรบ มังกรเหิร ของ ขงเบ้ง 《 诸葛亮 》







    เทพธวัชนั้นเป็นตัวแทนของการบัญชากองทัพสวรรค์ ซึ่งความเชื่อเรื่องกองทัพสวรรค์ซึ่งเป็นความเชื่อของศาสนาเต๋านิกายเจิ้งอี 《 正一宗 》( อ่านเรื่อง เตียวเทียนซือ ประกอบ ) ดังจะปรากฏอยู่ในคัมภีร์  太上三五正一盟威 ผูกที่ 5 บรรพที่ 1  12 ซึ่งแต่งขึ้นในสมัยราชวงศ์จิ้น《 晋朝 》 (พ.ศ. 808  963 )
    ตามความเชื่อนั้น กองทัพสวรรค์แบ่งออกเป็นกองทัพวงนอกและวงใน《 内 - 外五营 》 โดยที่ทัพวงนอกและวงในยังแบ่งย่อยออกเป็นอีกอย่างละ 5 กองทัพ ทัพสวรรค์วงนอกนั้นจะมีการนำทัพโดยเทพองค์ต่างๆ ซึ่งเทพดังกล่าวนี้จะเป็นเทพที่ได้การสถาปนาจากราชสำนักจีนในอดีต อาทิเช่นกวานเซิ่งตี้จวิน ( กวนอู )《 关圣帝君 》, ม้าจู่《 妈祖 》, เป่าเซิงต้าตี้《 保生大帝 》, หวางเหย่《 王爷 》องค์ต่างๆ ฯลฯ โดยไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเทพองค์ใดเป็นพิเศษส่วนกองทัพสวรรค์วงในนั้นแบ่งออกเป็น 5 ทัพ ดังนี้




    1. ทิศตะวันออก มีนามว่าทัพ จิ่วอี๋ 《 九 》คุมกำลังทหาร 90 ล้าน 9 หมื่นนาย ( เรื่องของกำลังทหารนั้น ภาษาจีนใช้คำว่า 《 九千九万 》ซึ่งแปลว่า 90 ล้าน 9 หมื่น ไม่ใช่《 九万九千 》ที่แปลว่า 9 หมื่น 9 พัน แม้ในกองทัพอื่นๆก็มีนัยยะเช่นเดียวกัน ) นำทัพโดย อี๋เหล่าจวิน 夷老君 》เป็นทัพซ้าย โดยมีธงสีเขียว ( ธาตุไม้ ) เป็นสัญลักษณ์ในการบัญชาการทัพ
    2. ทิศใต้ มีนามว่าทัพ ปาหมาน   》( สมัยก่อนเรียกว่า ปาเยว่  八越 》) คุมกำลังทหาร 80 ล้าน 8 หมื่นนาย นำทัพโดย เยว่เหล่าจวิน  越老君 》เป็นทัพหน้าโดยมีธงสีแดง ( ธาตุไฟ ) เป็นสัญลักษณ์ในการบัญชาการทัพ
    3. ทิศตะวันตก มีนามว่าทัพ ลิ่วหรง  六戎 》( สมัยก่อนเรียกว่า ลิ่วตี  六氐 》) คุมกำลังทหาร 60 ล้าน 6 หมื่นนาย นำทัพโดย ตีเหล่าจวิน  氐老君 》เป็นทัพขวา โดยมีธงสีขาว ( ธาตุทอง ) เป็นสัญลักษณ์ในการบัญชาการทัพ




    4. ทิศเหนือ มีนามว่าทัพ อู่ตี๋  五狄 》( สมัยก่อนเรียกว่า อู่เชียง  五羌) คุมกำลังทหาร 50 ล้าน 5 หมื่นนาย นำทัพโดย เชียงเหล่าจวิน  羌老君 》เป็นทัพหลังโดยมีธงสีดำ ( ธาตุน้ำ ) เป็นสัญลักษณ์ในการบัญชาการทัพ
    และ 5. ตำแหน่งศูนย์กลาง (ไม่สังกัดทิศ ) มีนามว่าทัพ ซันไท่  三泰 》คุมกำลังทหาร 30 ล้าน 3 หมื่นนาย นำทัพโดย ไท่เหล่าจวิน  泰老君 》เป็นทัพกลาง โดยมีธงสีเหลือง ( ธาตุดิน ) เป็นสัญลักษณ์ในการบัญชาการทัพ




    ซึ่งชื่อของกองทัพสวรรค์ทั้ง 3 ในสมัยโบราณ อันได้แก่ เยว่《 越 》ตี  》และ เชียง  》นั้นแท้ที่จริงแล้วคือชนเผ่าในสมัยโบราณซึ่งตั้งอยู่ตามทิศต่างๆของประเทศจีนตามทิศของกองทัพสวรรค์นั่นเอง จนต่อมาเมื่อถึงสมัยตอนปลายของราชวงศ์หมิง ( ประมาณ พ.ศ. 2100 ) แม่ทัพสวรรค์ทั้ง 5 ก็ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจนกระทั่งถึงปัจจุบันความเชื่อเรื่องแม่ทัพสวรรค์ทั้ง 5 มีต่างๆกันถึง 7 สาย (โดยเรียงลำดับดังนี้คือ กองทัพตะวันออก, ใต้, ตะวันตก, เหนือ และตำแหน่งศูนย์กลาง ) ดังต่อไปนี้
    1. แม่ทัพแซ่ จาง  》, เซียว  》, หลิว  》, เหลียน , หลี่   》
    2. แม่ทัพแซ่ หลิน  , อฺวี๋  , หม่า《  ผาง  ,สือ《 石 
    3. แม่ทัพแซ่ จ้าว  , ตู้ 杜 》, หลี่  , โจว《 周 , หลิว   
    4. แม่ทัพแซ่ เวิน《  , คัง《 康 , หม่า《  , จ้าว  , หลี่   》
    5. แม่ทัพแซ่ คัง《 康 , จาง《  》, จ้าว《  》, หม่า《  》, หลี่   》
    6. แม่ทัพแซ่ ซิน  , ฉือ 池 》, เจี่ยง  , หง《 洪 》, หลี่   》
    7. แม่ทัพชื่อ หลอคุน《 昆 》, เหวินเหลียง《 文良 》, หลอชั่น 羅燦, เจาเสียน《 招 , หนาจา 《 哪吒 》




    โดยรายนามแม่ทัพข้างต้นทั้ง 7 สายนั้น สายที่ 1 ถือเป็นที่แพร่หลายมากที่สุด และโดยทั่วไปถือกันว่าเทพ หลี่หนาจา”  哪吒 》ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด《 首席元 โดยมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่ถือเช่นนี้
    ตามความเชื่อของศาสนาเต๋า เทพธวัช《 神令旗 》นั้นเป็นสัญลักษณ์ของการบัญชากองทัพสวรรค์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือธงที่มีผืนธงเป็นรูป 3 เหลี่ยมและ 4 เหลี่ยม โดยที่ธงที่มีผืนธงเป็นรูป 3 เหลี่ยมมีทั้งหมด 5 สี เรียกว่า อู่อิ๋งฉี 《 五营 》 ( แปลว่า ธง 5 ทัพ ) ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อเรื่องธาตุทั้ง 5 อันได้แก่ ธงสีเขียวเป็นสัญลักษณ์แทนทิศตะวันออกธาตุไม้, ธงสีแดงเป็นสัญลักษณ์แทนทิศใต้ธาตุไฟ, ธงสีขาวเป็นสัญลักษณ์แทนทิศตะวันตกธาตุทอง ธงสีดำเป็นสัญลักษณ์แทนทิศเหนือธาตุน้ำ, ธงสีขาวเป็นสัญลักษณ์แทนทิศตะวันตกธาตุทอง และธงสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์แทนตำแหน่งศูนย์กลาง ( ไม่สังกัดทิศ )ธาตุดิน ส่วนธงที่มีผืนธงเป็นรูป 4 เหลี่ยมนั้นมี 2 สีเรียกว่า เจาจวินฉี 《 招军旗 》( แปลว่า ธงเรียกทัพ หรือ ธงนำทัพ ) มี 2 สีคือ สีดำ《 令旗 》( ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า เฮยลิ่งฉี , ฮกเกี้ยนออกเสียงว่า ออเหล่งกี ) และสีเหลือง《 令旗 》( ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า หวงลิ่งฉี , ฮกเกี้ยนออกเสียงว่า อึ่งเหล่งกี )
    รูปที่ 3 เทพธวัช《 神令旗 》
    ประเภทเจาจวินฉี《 招军旗 》ธงเรียกทัพ หรือ ธงนำทัพ )
    สีดำ《 令旗 》( เฮยลิ่งฉี)







    ในส่วนของพิธีกรรมนั้น ตามความเชื่อของศาสนาเต๋าจะมีพิธีกรรมชื่อ เวทย์บัญชา 5 ทัพ《 调五营大法 》 วิชานี้เป็นวิชาของนักพรตในศาสนาเต๋า โดยมีจุดประสงค์เพื่อการเรียกกองทัพสวรรค์มาอารักขาขณะที่ตนกำลังทำพิธีหรือฝึกวิชา ทั้งยังใช้เป็นเวทย์เรียกกองทัพสวรรค์มาเพื่อปราบปีศาจ ตลอดจนใช้เพื่อการต่อสู้ด้วยเวทย์มนต์ระหว่างผู้มีวิชาอาคม《 斗法 》 โดยในส่วนของพิธีกรรมนั้น มีอุปกรณ์และระเบียบปฏิบัติโดยคร่าวๆดังต่อไปนี้
    รูปที่ 4 อู่อิ๋งโถว《 五营头 》( เศียร 5 ทัพ )







    รูปที่ 5 อู่อิ๋งโถว《 五营头 》( เศียร 5 ทัพ )
    ( ทรัพย์สินของ ศาลเจ้ากะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต )
    ( ขอขอบคุณเวปไซต์ www.phuketvegetarian.com เอื้อเฟื้อภาพ )







    1. อู่อิ๋งโถว《 五营头 》( เศียร 5 ทัพ ) อู่อิ๋งโถวมีลักษณะเป็นแท่งเหล็กเส้นเล็กๆขณะที่ส่วนยอดเป็นเป็นไม้แกะสลักเป็นรูปของเศียรแม่ทัพสวรรค์ทั้ง 5 ในแง่วัฒนธรรมอู่อิ๋งโถวคือ ส่วนแกนหลักของหุ่นกระบอก แต่ในแง่ของความเชื่อทางศาสนานั้นอู่อิ๋งโถวคือรูปเคารพหรือจินเซิน《 金身 ประเภทหนึ่ง ซึ่งจินเซินประเภทนี้จะใช้กับแม่ทัพสวรรค์ทั้ง 5 และจะใช้กับวิชา เวทย์บัญชา 5 ทัพเท่านั้น ( จินเซินหรือกิมซิ้นนั้นมีหลายลักษณะ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นประติมากรรมที่มีเป็นคนโดยสมบูรณ์เท่านั้นแม้ภาพวาดเองก็จัดเป็นจินเซินประเภทหนึ่ง อ่านเรื่อง ความรู้เรื่องกิมซิ้น ประกอบ ) เนื่องจากการขาดความรู้และความคึกคะนอง ในปัจจุบันจึงมีการนำอู่อิ๋งโถวมาเป็นอุปกรณ์ในการทรมานร่างกายของม้าทรง ซึ่งถือเป็นการใช้งานที่ผิดวัตถุประสงค์อย่างมาก
    รูปที่ 6 ป้ายประกาศิต หรือ ต้าลิ่ง  大令 》






      
    2. ต้าลิ่ง  大令 》( ป้ายประกาศิต ) ต้าลิ่งเป็นสัญลักษณ์แทนอำนาจควมคุมทหารสวรรค์ทั้งหมดของผู้บัญชาการทหารสูงสุด ( ต้าลิ่งนี้เลียนแบบมาจากป้ายประกาศิตที่ใช้ในราชการทหารของจีนในสมัยโบราณ ) วัสดุที่ทำมาสร้างนั้นอาจทำจากไม้แกะสลัก หรือผ้าปักลวดลาย โดยมีลักษณะเป็นรูป 4 เหลี่ยมผืนผ้า ยอดตัดเป็นรูป 3 เหลี่ยม ปลายสอบให้แคบลง
    3. อู่อิ๋งฉี  五营 ( ธง 5 ทัพ ) อู่อิ๋งฉีเป็นที่ผืนธงเป็นรูป 3 เหลี่ยม มีทั้งหมด 5 สีๆละ 1 อัน ตามจำนวนของกองทัพสวรรค์ทั้ง 5 โดยมีขนาดยาว ( รวมด้ามธง ) ประมาณ 1 ฟุต ( หรืออาจยาวมากกว่านั้นเล็กน้อย )
    รูปที่ 7 อู่อิ๋งจฺว้อ  五营座 ( บัลลังก์ 5 ทัพ )
    ( ทรัพย์สินของ พิพิธพันธ์มรดกวัฒนธรรมแห่งชาติไต้หวัน )







    โดยสิ่งของทั้ง 3 อย่างข้างต้นจะนำมารวมไว้บนแท่นที่ลักษณะคล้ายโต๊ะหรือกระเช้าซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มาก โดยจะเรียกโดยรวมว่า อู่อิ๋งจฺว้อ  五营座 ( บัลลังก์ 5 ทัพ ) โดยในส่วนของอู่อิ๋งโถวนั้นจะมีการนำผ้าที่มีสีตามสีธงประจำทัพมาคลุมส่วนที่เป็นแท่งเหล็กไว้ ( บางครั้งก็ไม่ได้คลุม ) ต่อมาภายหลังพบว่าในที่บางแห่งมีการทำอู่อิ๋งจฺว้อให้ใหญ่ขึ้น เพื่อประดิษฐานต้าลิ่งเพิ่มอีก 4 อัน ( รวมเป็น 5 อัน ) ตามจำนวนของแม่ทัพสวรรค์ทั้ง 5 ขณะที่บางแห่งจะมีจินเซินแม่ทัพสวรรค์ที่มีลักษณะเป็นประติมากรรมที่มีเป็นคนโดยสมบูรณ์เพิ่มเข้าไป ซึ่งมีทั้งเพิ่ม 1 องค์อันแทนด้วยแม่ทัพผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเพิ่ม 5 องค์คือแม่ทัพสวรรค์ทั้ง 5 แต่นั่นก็เป็นการซ้ำซ้อนเพราะอู่อิ๋งโถวมีฐานะเป็นจินเซินโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว
    รูปที่ 8 ศาล 5 ทัพ 五营 》ศูนย์กลาง







    ในด้านของการสร้างศาลนั้น ศาล 5 ทัพ 五营 》นั้น ( บางครั้งเรียกว่าอู่อิ๋งเตี้ยน  五营殿 》ซึ่งแปลว่า ตำหนัก 5 ทัพ ) จะมีการสร้างศาลศูนย์กลาง โดยสร้างเป็นศาลเล็กๆแยกออกไปต่างหาก ซึ่งโดยมากมักอยู่บริเวณภายในศาลเจ้า ( มีลักษณะคล้ายศาลเจ้าที่《 福德词หรือศาลหู่เย๋《 虎爷词 》) โดยประดิษฐานอู่อิ๋งจฺว้อ 五营座 ( บัลลังก์ 5 ทัพ ) ไว้ภายในศาล และสร้างศาลเล็กๆอีก 5 ศาล โดยตั้งกระจายทิศต่างๆตามความเชื่อเรื่องกองทัพสวรรค์ และศาลทั้ง 5 นั้นมักจะตั้งอยู่ในที่กลางแจ้งตามบริเวณปากทางหรือทางแยก ซึ่งศาลทัพสวรรค์ทั้ง 5 ที่ตั้งกระจายกันดังกล่าวนั้นมีวิธีการสร้างโดยจำแนกออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
    1. ประเภทธรรมชาติ โดยแบ่งเป็น
    1.1 แบบธรรมดา คือ จะตั้งอุปกรณ์ในการประกอบพิธีโดยไม่มีการสร้างศาลและตกแต่งใดๆ
    รูปที่ 9 ศาลทัพสวรรค์ 五营 ประเภทธรรมชาติ แบบมีอาณาเขต







    1.2 แบบมีอาณาเขต คือ มีการสร้างจุดกำหนดอาณาเขตของสถานที่ๆจะประกอบพิธีแบบง่ายๆ โดยใช้วัสดุต่างๆอาทิเช่น ดินเหนียว, ก้อนหิน และกิ่งไม้ เป็นต้น
    1.3 แบบการก่อเป็นเนินดิน คือ ก่อดินให้เนินสูงขึ้นไป และทำที่กั้นน้ำเพื่อกันน้ำกัดเซาะ
    2. ประเภททำเป็นโต๊ะบูชาเทพ ซึ่งจะมีขนาดไม่สูงมาก
    รูปที่ 10 ศาล 5 ทัพ 五营 ประเภทโรงเรือน






    3. ประเภทโรงเรือน คือ สร้างเป็นศาลเหมือนกับศาล 5 ทัพ 五营 》ศูนย์กลาง
    4 ประเภทเจดีย์ คือ ใช้ก้อนอิฐหรือก้อนหิน ก่อให้สูงขึ้นมีลักษณะคล้ายเจดีย์ โดยจะก่อสูงสุดไม่เกิน 9 ชั้น ซึ่งศาลประเภทนี้โดยมากจะตั้งรูปแกะสลักของเสือหรือสิงโต ที่ทำจากไม้หรือหินไว้ด้านหน้า
    รูปที่ 11 หลักไม้ไผ่ที่ศักดิ์เป็นจินเซินหรือกิมซิ้น อันเป็นตัวแทนของแม่ทัพสวรรค์





    ขณะที่ภายในศาล 5 ทัพ 五营 》ศูนย์กลางจะประดิษฐานอู่อิ๋งจฺว้อ 五营座 ( บัลลังก์ 5 ทัพ ) แต่ศาลทัพสวรรค์ทั้ง 5 ที่ตั้งกระจายภายนอกนั้นจะประดิษฐานหลักไม้ไผ่ ( มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ประดิษฐานอู่อิ๋งจฺว้อ ) โดยจะมีทั้งหมด 6 หลัก แต่ละหลักยาวประมาณ 2 ฟุต โดยไม้ไผ่แต่ละหลักมีศักดิ์เป็นจินเซินหรือกิมซิ้น แทนองค์แม่ทัพสวรรค์ทั้ง 5 และผู้บัญชาการทหารสวรรค์สูงสุดรวมเป็น 6 แต่ละหลักจะลงยันต์ประจำตัวของแม่ทัพแต่ละองค์ และส่วนยอดของไม้ไผ่จะหุ้มด้วยกระดาษเงินกระดาษทอง ( บางแห่งหุ้มด้วยผ้าหรือกระดาษสีแดง ) ซึ่งถ้าเปรียบเทียบแล้วหลักไม้ไผ่ทั้ง 6 นั้นก็คือวัตถุ 6 อย่างอันได้แก่ อู่อิ๋งโถวทั้ง 5 และต้าลิ่งอีก 1 ในอู่อิ๋งจวฺว้อนั่นเอง
    รูปที่ 12 ภาพการทำพิธีเชิญกองทัพสวรรค์





    รูปที่ 13 ของเซ่นไหว้หลักที่ใช้ให้รางวัลกองทัพสวรรค์ 赏兵 》
    ( ขอขอบคุณเวปไซต์ www.phuketvegetarian.com เอื้อเฟื้อภาพ )




    ในแง่ของพิธีการโดยคร่าวๆนั้นก็จะเริ่มตั้งแต่ อัญเชิญแม่ทัพและกองทัพสวรรค์ โดยจะมีการเสี่ยงทายด้วยว่าการเชิญกองทัพสวรรค์มาสำเร็จหรือไม่ และเมื่อเสร็จพิธีก็จะมีการให้รางวัลทหารสวรรค์ 赏兵 》จนถึงการเรียกกองทัพสวรรค์กลับ โดยการให้รางวัลกองทัพสวรรค์นั้นจะใช้ม้า ( ที่ทำจากกระดาษ ) ,หญ้า, น้ำ และของเซ่นไหว้อื่นๆ ซึ่งช่วงเวลาที่จะให้รางวัลนั้นมีแตกต่างกันไปตามแต่ละสำนักซึ่งประมวลแล้วแบ่งได้ 3 กรณีคือ ในวันขึ้น 1 และ 15 ค่ำจันทรคติจีน ( ทั้ง 2 วันหรือวันใดวันหนึ่ง ), ในวันขึ้น 2 และ 16 ค่ำจันทรคติจีน ( ทั้ง 2 วันหรือวันใดวันหนึ่ง ) และ วันเกิดของเทพเจ้าในแต่ละเดือน ( หาดูได้ในปฏิทินจีน ) ในการเชิญกองทัพสวรรค์มาอารักขานั้นอาจกินเวลาหลายวันจนถึงหลายเดือน ไม่มีการกำหนดตายตัวว่าจะเชิญทัพสวรรค์มาในช่วงเวลาใดบ้าง แต่โดยทั่วไปจะไม่เชิญมาในช่วงตรุษจีน และในเดือน 7 ของปฏิทินจันทรคติจีน เพราะเชื่อกันว่าช่วงตรุษจีนเป็นช่วงเวลาพักผ่อนของทวยเทพ และในเดือน 7 นั้นเป็นช่วงที่ยมโลกปล่อยบรรดาภูตผีให้กลับมาหาญาติพี่น้องของตนที่โลกมนุษย์ จึงไม่มีการเชิญเทพมาเพราะจะทำให้สับสนวุ่นวายได้
    วิชาเวทย์บัญชา 5 ทัพ《 调五营大法 》จัดเป็น 1 ในหลายวิชาของวิชาประเภทค่ายกล《 阵法 》ของศาสนาเต๋า และยังถือเป็นวิชาค่ายกลอันดับต้นๆที่มีคนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย ในส่วนของคาถาที่ใช้กันนั้นโดยมากจะเหมือนกัน แต่อาจจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามการถ่ายทอดของแต่ละท้องถิ่นและแต่สำนัก
    รูปที่ 14 ไม้วัด เหวินกง 《 文公尺 》


    อนึ่งในการสร้างเทพธวัช《 神令旗 》ทั้ง 2 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นนั้น โดยระเบียบวิธีปฏิบัติในส่วนของด้ามธงจะใช้ไม้จากตันท้อหรือต้นหลิว ( ซึ่งไม้ทั้ง 2 ชนิดนี้ศาสนาเต่าเชื่อว่าเป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ ) ในเรื่องของขนาดของด้ามและผืนธงนั้น จะใช้ขนาดมงคลที่ได้จากการวัดจากไม้วัดเหวินกง 文公尺 》( ซึ่งในปัจจุบันมีการผลิตเป็นตลับเมตรออกจำหน่ายแล้ว ) โดยที่อู่อิ๋งฉี《 五营 》( ธง 5 ทัพ ) จะมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่สำหรับเจาจวินฉี《 招军旗 》(ธงเรียกทัพ หรือ ธงนำทัพ ) นั้นจะมีขนาดต่างๆกันไป ซึ่งในกรณีที่มีขนาดใหญ่ อาจจะมีขนาดเมื่อรวมด้ามธงยาวได้ถึง 2 เมตร โดยที่เจาจวินฉีนั้นเมื่อทำพิธีจะปักไว้ในที่กลางแจ้ง ( ซึ่งบางครั้งอาจปักไว้บนยอดไม้ ) และในภาวะปกติจะเก็บรักษาไว้ที่ศาล 5 ทัพ 五营 》ศูนย์กลาง ซึ่งในการสร้างธงทั้ง 2 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นอาจปักเป็นลวดลายต่างๆเพื่อความสวยงาม หรือบางที่จะมีการเขียนยันต์กำกับ หรือแม้แต่มีแบบที่มีเพียงตัวอักษร ลิ่ง   ที่แปลว่า ประกาศิต เพียงตัวเดียว จนกระทั่งถึงไม่มีลวดลายหรือตัวอักษรใดๆเลย โดยเฉพาะเจาจวินฉีที่มีขนาดใหญ่อาจจะลงยันต์ประเภท มหายันต์ หรือ ต้าฝู 《 大符 》( ต้าฝูเป็นยันต์ที่มีลายละเอียดมากโดยจะเขียนวัสดุที่มีพื้นผิวขนาดใหญ่, มีความสำคัญสูง และวัตถุที่ค่อนข้างคงทนแข็งแรง ) แต่บางครั้งก็พบว่าเป็นการลงยันต์ขนาดเล็กหลายๆยันต์มารวมกันในธงผืนเดียว
    รูปที่ 15 ภาพเจาจวินฉี《 招军旗 》เมื่อปักอยู่บนยอดไม้ขณะทำพิธี




    ปัจจุบันมีการสร้างเจาจวินฉีด้วยสีต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีมาภายหลัง ในขณะที่แต่เดิมนั้นจะมีเพียง 2 สีเท่านั้น คือสีเหลืองและสีดำ และภาพที่ม้าทรงมีเทพธวัช《 神令旗 》ประจำกาย ก็ถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของศาสนาเต๋า สำนักอูไพ่《 巫派 》 สายถงจี《 童乩 》( อ่านเรื่องประเพณีกินเจ  ที่มา  และความเชื่อ ประกอบ ) ซึ่งเทพธวัช《 神令旗 》นั้น ยังถือเป็นสัญลักษณ์แห่อำนาจอีกด้วย……….